แมกเนติก คอนแทคเตอร์ (Magnetic Contactor) อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งซึ่งมีความสำคัญ หรือที่เรียกกันชื่อว่า คอนแทคเตอร์ (Contactor) อุปกรณ์ตัดต่อวงจรไฟฟ้าที่ใช้เพื่อเปิดและปิดหน้าสัมผัสในการตัดต่อวงจรระบบไฟฟ้า ซึ่ง Bangkok Absolute มีตัวอย่างการใช้ คอนแทคเตอร์ มาฝาก อาทิ การควบคุมระบบปั๊มน้ำ หรือมอเตอร์ และใช้งานกับเครื่องจักรของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทั้งนี้การใช้งาน คอนแทคเตอร์ ต้องพิจารณาเลือกตามความเหมาะสมกับอุปกรณ์ที่จะใช้งาน รวมทั้งขนาดของเครื่องจักรในการใช้งานด้วย เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการเกิดความเสียหายที่จะตามมา
การทำงานหลัก ๆ ของ แมกเนติก คอนแทคเตอร์ เมื่อมีการจ่ายไฟฟ้าไปยังขดลวดสนามแม่เหล็กที่บริเวณขากลางของแกนเหล็ก ขดลวดจะทำการสร้างสนามแม่เหล็กที่มีแรงสนามแม่เหล็กมากกว่าแรงของสปริงเพื่อดึงแกนเหล็กชุดเคลื่อนได้ ให้เคลื่อนลงมา (ON) โดยที่ คอนแทคเตอร์ จะเปลี่ยนสภาวะในการทำงาน โดยปกติถ้าแมกเนติก คอนแทคเตอร์ปิดจะเปิดวงจรจุดสัมผัสออก ส่วนแมกเนติก คอนแทคเตอร์ปกติเปิดจะทำการต่อวงจรของจุดสัมผัส และเมื่อใดก็ตามที่กระแสไฟฟ้าไม่มีการไหลผ่านเข้าไปยังขดลวดแล้ว สนามแม่เหล็กคอนแทคเตอร์ทั้งแบบปกติเปิด และแบบปกติปิดก็จะอยู่ในสภาวะเริ่มต้นอีกครั้ง
แมกเนติก คอนแทคเตอร์ (Magnetic Contactor) มีความจำเป็นต้องใช้หรือไม่
แมกเนติก คอนแทคเตอร์ (Magnetic Contactor) “มีความจำเป็น” สำหรับงานที่มีการใช้ปั๊มน้ำขนาดใหญ่ เครื่องปั๊มที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม โรงงานขนาดใหญ่ เพราะต้องใช้งานหนักและใช้งานอย่างต่อเนื่อง มีความเสี่ยงที่จะเกิดความร้อน และอาจทำให้ขดลวดเกิดการไหม้ สร้างความเสียหายได้เป็นจำนวนมาก การติดตั้ง Magnetic contactor จะช่วยลดความเสี่ยง และช่วยให้การทำงานของเครื่องปั๊มในโรงงานอุตสาหกรรมมีความปลอดภัย รวมทั้งมีประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้นด้วย ซึ่งกรณีของความจำเป็นนั้น สรุปได้ว่าก็ต้องขึ้นอยู่กับตัวอุปกรณ์ที่จะใช้ว่ามีการทำงานมากน้อยเพียงใด และเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายหรือไม่
สำหรับการเลือกซื้อ Magnetic Contactor นั้นก็มีเรื่องที่ควรทราบอยู่ 3 ประการสำคัญด้วยกัน นั่นก็คือ
1. ประเภทของโหลด จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ IEC รองรับ อาทิเช่น AC-1 และ AC-3 เป็นต้น ซึ่งมอเตอร์ส่วนมากที่เราจะใช้ร่วมกับคอนแทคเตอร์นั้นจะเป็นแบบพวก AC-3 (Squirrel-cage motors) ซึ่งประเภทของโหลดนั้นก็จะมีหลากหลายประเภทด้วย ฉะนั้นแล้วการเลือกซื้อโดยทราบว่าโหลดเป็นแบบใดก่อนก็จะให้ความปลอดภัยได้มากกว่า
2. Inrush Current คอนแทคเตอร์ที่เลือกไปใช้งานนั้นจะต้องรองรับในเรื่องของกระแสที่สตาร์ทมอเตอร์ได้ด้วย เพราะไม่ใช่เพียงแค่รองรับกับการรันมอเตอร์เพียงอย่างเดียว
3. แรงดันของระบบไฟฟ้า แรงดันที่ใช้ในโรงงานนั้นๆ อุตสาหกรรมหนักในประเทศไทยมักจะใช้แรงดันที่สูงกว่า 440V ซึ่งอาจจะสูงถึง 690V ได้ กระแสที่ตัวคอนแทคเตอร์ทนได้นั้นขึ้นอยู่แรงดันของระบบไฟฟ้าในไซด์งานด้วย ดังนั้นตรงนี้เราก็ต้องตรวจสอบให้ดีก่อนว่าแมคเนติกที่ใช้นั้นรองรับแรงดันซัพพลายของโรงงานได้หรือไหม เพราะในแต่ละรุ่นก็จะมีฟังก์ชันที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ก็เพื่อความเสถียรและความปลอดภัยจากการใช้งานด้วย
นอกจากวิธีการพิจารณาสามข้อนี้แล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาในการเลือกซื้อ Contactor ก็คือแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะ แมกเนติกคอนแทคเตอร์ จาก AAB ที่เป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าชั้นนำ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยในปัจจุบัน Bangkok Absolute ตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าแบรนด์ชั้นนำ มีสินค้าให้เลือกซื้อตามความเหมาะสมในการใช้งาน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
บริษัท บางกอกแอบโซลูท อิเลคทริคแอนด์คอน จํากัด
ขอใบเสนอราคา : 02-398-3389
Line : @bangkokabsolute
https://web.facebook.com/bangkokab
อุปกรณ์ป้องกัน เป็นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้า ในกรณีที่ไฟช๊อต ไฟดูด ไฟรั่ว หรือเกิดการลัดวงจร ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าจะช่วยลดอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้าได้
ดูเพิ่มเติมตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center) หรือตู้โหลด ที่ใช้ควบคุมตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต (Consumer Unit) ตู้โหลดเซ็นเตอร์เหมาะสำหรับติดตั้งเพื่อควบคุมระบบไฟฟ้าในอาคารขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ หรือโรงงานอุตสาหกรรม
ดูเพิ่มเติมเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) หรือเบรกเกอร์ สวิตซ์ไฟฟ้าอัตโนมัติที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้าส่วนเกิน
ดูเพิ่มเติม