เบรกเกอร์กันดูด อุปกรณ์ป้องกันไฟดูดไฟรั่ว (Residual Current Devices – RCD) ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบกระแสไฟฟ้าในบ้านเพื่อป้องกันไฟรั่วไฟดูด หากเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วตามค่าที่กำหนดจะตัดวงจรแบบอัตโนมัติ เบรกเกอร์กันดูด จะตัดวงจรโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่มิลลิวินาที จึงช่วยป้องกันการบาดเจ็บหรืออันตรายแก่ชีวิต (ซึ่งโดยทั่วไปแนะนำที่ 30 มิลลิแอมป์ เนื่องจากเป็นระดับที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต)
- เบรกเกอร์กันดูด RCCB (Residual Current Circuit Breaker) ทำหน้าที่ป้องกันไฟดูด ไฟรั่วแต่ไม่สามารถที่จะกันกระแสลัดวงจรได้ โดยควรติดตั้งควบคู่กับเซอร์กิตเบรกเกอร์
- เบรกเกอร์กันดูด RCBO (Residual Current Circuit Breaker with Overcurrent Protection) อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว ไฟดูด ซึ่งทำงานเช่นเดียวกับ RCCB โดยจะตัดวงจรเมื่อเกิดไฟดูด ไฟรั่วรวมถึงป้องกันกระแสเกินและกระแสลัดวงจร เปรียบเสมือนการนำเซอร์กิตเบรกเกอร์ กับ RCCB มารวมเข้าด้วยกัน
ไฟดูด ไฟรั่ว เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไปสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าหรือกับสายไฟที่มีการรั่ว เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือสายไฟชำรุดหรือเสื่อมสภาพ การเดินสายไฟที่ไม่ได้มาตรฐาน การขาดการตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ถูกต้อง อาจจะทำให้เป็นสาเหตุของการถูกไฟรั่ว ไฟดูดได้
เมื่อถูกไฟดูด กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านร่างกายและลงสู่พื้นดิน อาการจะขึ้นอยู่กับกระแสไฟ โดยสามารถอ้างอิงและแบ่งความปลอดภัยออกได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
- ระดับที่ 1 โดนดูด แต่ไม่รู้สึก (ปริมาณกระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 0.5 mA)
- ระดับที่ 2 โดนดูดรู้สึก แต่ไม่อันตราย (ปริมาณกระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 10 mA)
- ระดับที่ 3 โดนดูด กล้ามเนื้อจะเกร็ง หรือหายใจติดขัด (ปริมาณกระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 20 mA)
- ระดับที่ 4 โดนดูด หัวใจล้มเหลวอาจทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้ (ปริมาณกระแสไฟฟ้ามากกว่า 30 mA)
การป้องกันไฟรั่ว ไฟดูด สามารถป้องกันได้ด้วยการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยู่ภายนอกอาคาร ควรเลือกใช้แบบกันน้ำและมีฝาครอบป้องกันฝนสาดและน้ำรั่วซึม รวมทั้ง มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าดูด อาทิ เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ เบรกเกอร์ควบคุมไฟ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีโครงหรือวัสดุหุ้มเป็นโลหะ เช่น ตู้เย็น เครื่องทำน้ำอุ่น ไมโครเวฟ ตู้น้ำดื่ม เป็นต้นควรติดตั้งสายดิน หากกระแสไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าจะไหลลงสู่พื้นดิน จึงช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูดได้
เมื่อพบเห็นผู้ที่ถูกไฟดูด สิ่งแรกเลยต้องตั้งสติให้ดี และรีบตัดกระแสไฟฟ้า โดยการปิดสวิตช์ ปลดปลั๊กไฟ และสับคัตเอาท์ ในกรณีที่ไม่สามารถตัดกระแสไฟฟ้าได้ ให้นำวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น ผ้าแห้ง หนังสือพิมพ์ เขี่ยสายไฟให้หลุดจากตัวผู้ถูกไฟฟ้าดูด หรือใช้เชือกคล้อง และดันตัวผู้ถูกไฟฟ้าดูดให้หลุดจากบริเวณที่มีกระแสไฟฟ้ารั่ว โดยผู้เข้าช่วยเหลือต้องยืนบนพื้นแห้ง และสวมรองเท้ายาง ห้ามใช้มือหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายสัมผัสผู้ถูกไฟฟ้าดูดในขณะที่ยังไม่ตัดกระแสไฟฟ้า และห้ามช่วยเหลือผู้ถูกไฟฟ้าดูดในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น หรือยืนบนพื้นที่ชื้นแฉะ เพราะจะได้รับอันตรายจากไฟฟ้าดูด สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ถูกไฟฟ้าดูดนั้น หากคนที่ถูกไฟฟ้าดูดมีอาการหมดสติ และหัวใจหยุดเต้น ให้รีบโทรแจ้งหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 หรือสถานพยาบาลใกล้เคียงทันที
การเลือกติดตั้งเบรกเกอร์กันดูด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยป้องกันการบาดเจ็บหรืออันตรายแก่ชีวิต ซึ่งควรเลือกขนาดของเบรกเกอร์กันดูดให้เหมาะสมกับกระแสไฟฟ้าด้วย โดยสามารถสั่งซื้อเบรกเกอร์ได้จาก Bangkok Absolute ตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าแบรนด์ชั้นนำ หรือสามารถขอรับคำปรึกษาได้เกี่ยวกับเบรกเกอร์กันดูด และอุปกรณ์ตัดต่อวงจรไฟฟ้า
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
บริษัท บางกอกแอบโซลูท อิเลคทริคแอนด์คอน จํากัด
ขอใบเสนอราคา : 02-398-3389
Line : @bangkokabsolute
https://web.facebook.com/bangkokab
อุปกรณ์ป้องกัน เป็นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้า ในกรณีที่ไฟช๊อต ไฟดูด ไฟรั่ว หรือเกิดการลัดวงจร ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าจะช่วยลดอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้าได้
ดูเพิ่มเติมตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center) หรือตู้โหลด ที่ใช้ควบคุมตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต (Consumer Unit) ตู้โหลดเซ็นเตอร์เหมาะสำหรับติดตั้งเพื่อควบคุมระบบไฟฟ้าในอาคารขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ หรือโรงงานอุตสาหกรรม
ดูเพิ่มเติมเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) หรือเบรกเกอร์ สวิตซ์ไฟฟ้าอัตโนมัติที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้าส่วนเกิน
ดูเพิ่มเติม